เรียนรู้สัญญาการซื้อขาย ก่อนใช้บริการบริษัทรับขายฝากที่ดิน ที่ทุกคนไม่ควรมองข้าม!

บริษัทรับขายฝากที่ดิน

สำหรับใครที่กำลังซื้อหรือขายบ้าน ที่ดินอยู่นั้น นอกจากจะต้องเรียนรู้ในเรื่องของการซื้อขายแล้ว ในเรื่องของหนังสือสัญญาการซื้อขายจะเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ทุกคนไม่ควรมองข้าม ซึ่งหนังสือสัญญาซื้อขาย และสัญญาการซื้อขายทั้งสองรูปแบบนี้จะมีความแตกต่างกันออกไป แม้ว่าจะมีชื่อเรียกที่คล้ายคลึงกันก็ตาม  

แถมยังใช้กับบริษัทรับขายฝากที่ดินการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เหมือนกันอีกด้วย ดังนั้นหากผู้ซื้อไม่เข้าใจถึงเจตนาสัญญาการซื้อขายอย่างแท้จริง ก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาในภายหลังได้นั่นเอง เพราะฉะนั้นไปดูกันเลยว่า หนังสือสัญญาการซื้อขาย และสัญญาการซื้อขายมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง 

หนังสือสัญญาการซื้อขายบ้านกับบริษัทรับขายฝากที่ดินคืออะไร 

สำหรับหนังสือสัญญาการซื้อขาย ที่จะใช้กับอสังหาริมทรัพย์จะมีชื่อเรียกอีกหนึ่งอย่างว่า “หนังสือสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด” ซึ่งจะเป็นสัญญาที่เกิดขึ้นเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์จากผู้ขายไปยังผู้ซื้อทันที ณ วันที่ทำสัญญา สำหรับสัญญาประเภทนี้จำเป็นต้องมีการจดทะเบียนต่อหน้าเจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดิน จึงจะถือว่าสัญญาการซื้อขายนั้น ๆ สมบูรณ์ตามกฎหมายนั่นเอง 

สัญญาการซื้อขายคืออะไร? 

ในส่วนของสัญญาการซื้อขาย โดยปกติแล้วการซื้อที่ดิน บ้าน หรือคอนโด ผู้ซื้อและผู้ขายจะต้องใช้ทั้งหนังสือสัญญาการซื้อขาย และหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายร่วมกันอยู่แล้ว เว้นแต่ว่าจะตกลงซื้อขายแล้วไปสำนักงานที่ดินพร้อมกัน เพราะหากตกลงไปสำนักงานที่ดินพร้อมกันก็สามารถจ่ายเงินสดและโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้กันได้ในทันที แต่ทั้งนี้เหตุการณ์นี้จะเป็นไปได้ค่อนข้างยากในความเป็นจริง ดังนั้นการทำสัญญาการซื้อขายจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก 

เพราะไม่ว่าผู้ซื้อจะสนใจอสังหาริมทรัพย์ไม่ว่าจะสนใจมาจากบริษัทรับขายฝากที่ดิน หรือที่ใดก็ตาม จะต้องมีการจับจองและวางเงินมัดจำเอาไว้ก่อน หลังจากนั้นจะต้องทำการซื้อขายจริงจึงจะโอนกรรมสิทธิ์ แต่ในกระบวนการนี้จึงเป็นการเกิดสัญญาจะซื้อจะขาย เพื่อสัญญาว่าจะมีการซื้อขายกันอย่างแน่นอน 

ต้องบอกเลยว่าสัญญาการซื้อขายระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายจะเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก ไม่ว่าผู้ซื้อจะเห็นโฆษณาขายอสังหาริมทรัพย์จากบริษัทรับขายฝากที่ดิน หรือจากสถานที่ใดก็ตาม เมื่อเข้ามาคุยกับผู้ขายแล้ว จะต้องทำสัญญาการซื้อขายระหว่างกัน เพื่อเป็นสัญญาที่บ่งบอกได้ว่า อสังหาริมทรัพย์นี้จะมีการซื้อขายกันอย่างแน่นอน ทั้งนี้การทำสัญญาซื้อขายจะต้องไปทำสัญญาต่อหน้าเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดินในเขตพื้นที่ที่ซื้อขายอสังหาริมทรัพย์นั้น ๆ เพียงเท่านี้ก็สามารถทำสัญญาซื้อขายกันได้ไม่ยาก